ปฏิทินการปฏิบัติงานฝ่ายวางแผนฯ

ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
-ขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลตลอดปี 2556-57
-รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2556 (มีนาคม 2557)
-รายงานประจำปีฉบับเผยแพร่ (มี.ค.-พ.ค. 2557)

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประธานรัฐสภาอดีตศิษย์เก่าขอนแก่นวิทยายน


นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 นายสมศักดิ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจบปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการเมือง จากมหาวิทยาลัยอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
นายสมศักดิ์ได้รับฉายาว่า "ขุนค้อน" ตั้งแต่ครั้งที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2540 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ได้นำค้อนขึ้นมาเคาะบัลลังก์ แบบเดียวกับที่ใช้ในศาลยุติธรรมในต่างประเทศ เพื่อระงับเหตุเมื่อเกิดการถกเถียงกันในสภา
เดิมนายสมศักดิ์เป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา แต่เมื่อนายสมศักดิ์เข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้เกิดความขัดแย้งกันในกลุ่ม นายสมศักดิ์จึงแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มใหม่คือกลุ่มขุนค้อน
ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี นายสมัคร สุนทรเวช จัดรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า มีมติเอกฉันท์ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง
ต่อมาในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 298 ต่อ 163 (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายสมชายเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 18 กันยายน ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของประเทศไทย โดยนายสมศักดิ์ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[1]
ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่ง จึงส่งผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง จากนั้นจึงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[2]
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดขอนแก่น และได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการทำงานทางการเมือง

* สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ขอนแก่น 10 สมัย

* รองประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย

* รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

* รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์

* มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)

* ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ม.ช.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น