ปฏิทินการปฏิบัติงานฝ่ายวางแผนฯ

ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
-ขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลตลอดปี 2556-57
-รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2556 (มีนาคม 2557)
-รายงานประจำปีฉบับเผยแพร่ (มี.ค.-พ.ค. 2557)

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขอนแก่นวิทยายนกับความพร้อมเป็นหนึ่งเดียวอาเซียน




จากกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความหลากหลายทั้งด้านสังคมและระบบ เศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก   ทำให้หลายประเทศต้องเร่งเตรียมพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเท่าเทียม
          ประเทศสมาชิกอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย  10 ประเทศ  คือ  ไทย  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  มาเลเซีย  บรูไน  เวียดนาม  ลาว  พม่า  และกัมพูชา ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ  เราจะเห็นว่า ปริญญาว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ได้ให้ความสำคัญในการใช้กลไกการศึกษาขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2020  ที่มุ่งให้อาเซียนมีวิสัยทัศน์สู่ภายนอก  มีสันติสุข  และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในการเป็นหุ้นส่วนในสิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตยและมีอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน การพัฒนาที่มีพลวัตร และการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดและในสังคมที่เอื้ออาทรที่ระลึกถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์  รับรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน และเชื่อมอัตลักษณ์ของภูมิภาค
          ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน  ได้ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก  โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่ มีความมั่นคง
          ในส่วนของความร่วมมือด้านการศึกษาของประชาคมอาเซียนนั้น ได้มีการลงนามในปฏิญญาชะอำ-หัวหิน  โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและผู้นำของประเทศต่างๆ ในอาเซียน  ประกอบด้วยความร่วมมือใน 3 เสาหลัก คือ  ประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคง โดยใช้การศึกษาเป็นตัวนำ   ประชาคมด้านเศรษฐกิจ  ทุกประเทศจะต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก  และประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรม  ให้ถือว่าความงดงามมาจากความแตกต่างและหลากหลาย  วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน  แต่ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นจะช่วยสร้างความร่วมมือในลักษณะสังคมเอื้อ อาทร  โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ทั้ง 3 เสาหลักส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน  เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จของการเป็นประชาคมอาเซียนได้ภายในปี 2558  หรืออีก 5 ปีข้างหน้า
          จากปฏิญญาดังกล่าว  ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งแสวงหาความร่วมมือเพื่อเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อน เตรียมพร้อมเด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียนตามเป้าหมาย  โดยเฉพาะให้กลไกการศึกษาเป็นตัวนำสำคัญในการขับเคลื่อนให้สามารถก้าวไปได้ อย่างมีทิศทาง ผสานประโยชน์ร่วมกัน  องค์กรหลักในกระทรวง ศึกษาธิการจึงต้องเร่งเครื่องก้าวเดินอย่างไม่หยุดนิ่ง
          จากการระดมความคิดในหลากหลายเวทีจากผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 เสาหลัก  รวมถึงผู้บริหารการศึกษา  ครูผู้สอน  นักวิชาการ  และผู้เกี่ยวข้อง  พบข้อเสนอแนวทางมากมาย  เช่น  การให้ความรู้แก่พลเมือง  ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และจิตสำนึกของพลเมืองอาเซียน  ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมจัดกิจกรรมด้านการศึกษา  สร้างเด็กให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานแลสถานประกอบ การ การจัดหลักสูตรการศึกษาอาเซียน ด้วยการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน  เป็นต้น
          ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้เร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้รู้จักวัฒนธรรมสังคม  ความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านอีก 9 ประเทศ   ที่จะสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ  โดยการดำเนินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) เพื่อรองรับการรวมกลุ่มของประเทศอาเซียน ในปี 2558   เช่น  โรงเรียน Buffer School  เป็นโรงเรียนที่อยู่ติดชายแดนกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ  ได้แก่  ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย  โรงเรียน Sister School   เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องของภาษาและ ICT  ที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ติดชายแดน  แต่มีประสานสัมพันธ์กับอาเซียน 5 ประเทศ  ได้แก่  เวียดนาม  สิงคโปร์  ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  และบรูไน   เป็นต้น 
          สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้ระดมความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้บริหารสถานศึกษา  ศึกษานิเทศก์  ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนเป็นการเตรียมพร้อมสู่ความเป็น ประชาคมอาเซียน  โดยการกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยที่สอดรับกับประชาคมอาเซียน   การวิเคราะห์หลักสูตรในส่วนของอาเซียนศึกษา  การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพและแข็งแกร่งใน ประชาคมอาเซียน
        
          สำหรับโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนในฐานโรงเรียน Sister School ได้มีการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล เปิดสอนวิชาต่างปรเทศเพิ่มขึ้นสามภาษาคือ คือภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้โรงเรียนยังเน้นพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาต่างประเทศโดยเปิดสอนหลักสูตร English Program จำนวน 12 ห้องเรียนระดับละ 2 ห้องเรียน และเปิดสอนหลักสูตรความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ที่จัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษอีก จำนวน 12 ห้องเรียน ระดับละ 2 ห้องเรียน รวมทั้งโรงเรียนจัดให้นักเรียนทุกคนได้เรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาทุกภาคเรียนอีกด้วย

          การเตรียมการต่าง ๆ เหล่านี้คือความพยายามของขอนแก่นวิทยายนที่จะดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาคนตอบสนองการเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น