ปฏิทินการปฏิบัติงานฝ่ายวางแผนฯ

ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
-ขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลตลอดปี 2556-57
-รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2556 (มีนาคม 2557)
-รายงานประจำปีฉบับเผยแพร่ (มี.ค.-พ.ค. 2557)

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

เตรียมประเมินภายนอกรอบ4

การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่(พ.ศ.2559-2563)
สมศ.จะปรับระบบการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559 2563) เป็นการประเมินรายพื้นที่ หรือ แอเรียเบส เพื่อประเมินสถานศึกษาทุกระดับการศึกษาเป็นรายจังหวัด โดยจะต่างจากการประเมินฯในรอบที่ผ่านๆมา ที่เป็นการประเมินรายสถานศึกษา และสมศ.ต้องสรุปผลการประเมินในรอบ 5 ปีเป็นภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งทำให้ไม่รู้ว่าคุณภาพการศึกษาของแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ก่อนการประเมินฯจะประกาศให้แต่ละจังหวัดทราบล่วงหน้าว่า จังหวัดของตนเองจะถูกประเมินในช่วงปีใดของรอบสี่ ซึ่งจังหวัดที่ถูกประเมินในช่วงปีแรกๆของรอบก็อาจจะถูกประเมิน 2 รอบ เพื่อให้สถานศึกษาไม่หยุดการพัฒนา

การประเมินแบบแอเรียเบส ได้นำร่องในการประเมินฯรอบสามแล้ว โดยปี 2554 ประเมิน 8 จังหวัด ปี 2555 ประเมิน 20 จังหวัด และปี 2556 ประเมิน 40 จังหวัด ซึ่งการประเมินฯลักษณะนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของคุณภาพการศึกษาในแต่ละ จังหวัด เชื่อมโยงการศึกษาทุกระดับเข้าด้วยกัน และทำให้เห็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในแต่ละจังหวัดด้วยว่ามีความเข้มข้น หรือไม่ ทั้งนี้ ยืนยันว่าการประเมินฯรูปแบบใหม่จะไม่เพิ่มภาระให้สถานศึกษา ครู อาจารย์ หรือนักเรียน และสมศ.จะพยายามประกาศผลการประเมินฯ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งทราบผลเร็วขึ้นจากเดิมต้องรอผลประมาณ 9 เดือน เป็นภายใน 4 เดือนเท่านั้น
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)  ในการประเมินทุกระดับการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และ อุดมศึกษา ให้ใช้ตัวบ่งชี้ 20ตัว ใน3 มิติ คือ 1.ตัวบ่งชี้พื้นฐานที่ทุกแห่งต้องปฏิบัติ 2.ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ผู้เรียนและเอกลักษณ์สถานศึกษา และ3.มาตรการส่งเสริมที่ช่วยแก้ปัญหาสถานศึกษาและแก้ปัญหาสังคม โดยยึดแนวทาง 7 ด้าน ได้แก่  1.คุณภาพศิษย์  2.คุณภาพครูอาจารย์  3.ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 4.สังคมชุมชน  5.การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 6.อัตลักษณ์และเอกลักษณ์สถานศึกษา และ 7.มาตรการส่งเสริม ทั้งนี้จะมีการพิจารณาตัวบ่งชี้ใน 5 ประเด็น คือ 1.ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ICT หรือเทียบเท่า 2.การได้รับรางวัลและการยอมรับระดับชาติและนานาชาติ 3.ความสำเร็จของผู้เรียน 4.การมีงานทำหรือสอบได้ทุนศึกษาต่อจากองค์กรทั้งภายในและต่างประเทศของบัณฑิตปริญญาตรี และ 5.ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยแต่ละประเด็นจะมี 1คะแนนรวม 5 คะแนน

นอกจากนั้น  การประเมินด้านคุณภาพศิษย์ในรอบสี่นี้ จะเน้นการประเมินความเป็นคนดีทุกระดับการศึกษา โดยพิจารณาจากตัวเยาวชนว่า มีความขยัน อดทน พึ่งพาตนเอง และมีความรับผิดชอบหรือไม่ เช่น การช่วยเหลือทำกิจกรรมในโรงเรียนหรือบำเพ็ญประโยชน์จิตอาสา ซึ่งกำหนดว่าต้องทำกิจกรรมนอกหลักสูตรอย่างน้อยคนละ 50ชั่วโมงต่อปี เป็นต้น ส่วนการบริหารจัดการนั้นทุกระดับต้องได้รับการประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยต้องประเมินตั้งแต่สภามหาวิทยาลัย อธิการบดีและคณบดี ระดับอาชีวศึกษาและโรงเรียนก็ประเมินตั้งแต่กรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่สำคัญการประเมินรอบสี่จะเน้นความรู้ความสามารถทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น