1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคืออะไร
แผนพัฒนาคุณภาพศึกษาเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
โดยคณะกรรมการสถานศึกษา
เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทที่จะกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
โดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนิน
งานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกันนั้น
2. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่ออะไร
1) เพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและบรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
2) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม สนับสนุน ส่งเสริม การดำเนินงานจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงต่อความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
4) เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้แนวทางในการเรียนรู้และสามารถกำหนดบทบาทของตนเองได้ถูกต้อง
3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1)
ชุมชนและผู้ปกครองมั่นใจว่าสถานศึกษามีแผนและดำเนินการจัดการศึกษาได้อย่าง
มีคุณภาพ และให้ความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนอย่างเต็มใจ
2) สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
3) สถานศึกษาจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
4) ผู้เรียนแสดงบทบาทในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจนมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม ตามที่หลักสูตรและสังคมต้องการ
4. สาระสำคัญในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
1) ภาพรวมของสถานศึกษา (School Profile) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสังเขป เพื่อแสดงความเป็นมา สภาพปัจจุบันเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสังเขป และทิศทางในอนาคตของสถานศึกษา
1.1) ข้อมูลทั่วไปของชุมชน ได้แก่
สภาพทางภูมิศาสตร์การศึกษา การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา
วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ฯลฯ
1.2) ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
1.3) โครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา แผนภูมิการบริหาร พร้อมทั้งบทบาทหน้าที่
1.4) โครงการสร้างการจัดการศึกษา ได้แก่
หลักสูตรกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ
และการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชน
1.5) มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะมุ่งมั่นสู่ความเป็นเสิศในการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
2.1) วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่กว้างๆ ครอบคลุมทุกภารกิจของสถานศึกษา
มุ่งการคิดไปข้างหน้า แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต ข้อความ วิสัยทัศน์
จะสื่อถึงอุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ
และอนาคตที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาและชุมชน
ข้อความวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
การเขียนวิสัยทัศน์ที่ดีให้คำนึงว่าจะสามารถสร้างความศรัทธาและจุดประกาย
ความคิดให้แก่ผู้ปฏิบัติได้
2.2) ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์
2.3) เป้าหมายของสถานศึกษา (School Goals)
เป็นข้อความที่ระบุผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาจะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ
ในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้และมีความชัดเจน
ยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่างๆ
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของสถานศึกษา เช่น
ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ
และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น
เป้าหมายที่กำหนดในระดับนี้
เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุภายในช่วงเวลาที่กำหนด
ลักษณะการเขียนยังเป็นผลลัพธ์กว้างๆ
3) แผนปฏิบัติการ
เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี
เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระยะที่กำหนด
แผนปฏิบัติการประกอบด้วย สังเขป รายละเอียดของกิจกรรม
หรือขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ
และแหล่งงบประมาณ
รูปแบบการเขียนนิยมใช้ตารางซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยง ตั้งแต่เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน ที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบเวลา งบประมาณในแต่ละกิจกรรม
4) การระดมทรัพยากร
ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงแหล่งสนับสนุนงบประมาณและสรุป
งบประมาณในแผนพัฒนาคุณภาพ ซึ่งจะต้องบอกจำนวนงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละปี
และแหล่งที่สถานศึกษาจะสมารถระดมทรัพยากรและสนับสนุนงบประมาณได้
5) การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย
การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และแหล่งวิทยาการภายนอก
เพื่อสนับสนุนทางวิชาการ
เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ซึ่งควรจะต้องเขียนไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1.
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ
2. สถานศึกษา ศึกษาทบทวน วิเคราะห์ความเป็นมา สภาพปัจจุบัน ปัญหา จัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา
3. สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา (รวมถึงผู้แทนจากชุมชน)
ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา
และแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในช่วงเวลาที่กำหนด
4.
สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผ่านการยอมรับ
ร่วมกันจากคณะกรรมการสถานศึกษา (ซึ่งมีผู้แทนจากชุมชนร่วมด้วย)
5. ประกาศแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทั่วไป (ในชุมชน) ทราบ
แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
มิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของแผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาหรือนโยบายของต้นสังกัดที่จะกำหนดกรอบระยะ
เวลาได้ตามความเหมาะสมและวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ 2-3 ปีก็ได้
อ้างอิง
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล ศึกษานิเทศเชี่ยวชาญ : http://panchalee.wordpress.com/2009/04/28/education-plan
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น