ปฏิทินการปฏิบัติงานฝ่ายวางแผนฯ
ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
-ขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลตลอดปี 2556-57
-ขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลตลอดปี 2556-57
-รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2556 (มีนาคม 2557)
-รายงานประจำปีฉบับเผยแพร่ (มี.ค.-พ.ค. 2557)
วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
โครงการขับเคลื่อนโรงเรียนจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา 2559
โครงการขับเคลื่อน สเต็มศึกษา ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษา
ม. 1
ศรลมชวนคิด ชี้ทิศบอกทาง
http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2016/04/M1-Activity.pdfThe young designer
ม. 2
ลำบากบากแค่ไหน กลไกช่วยได้
http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2016/04/M2-Activity.pdf
นาวาฝ่าวิกฤต
ม. 3
สว่างไสวด้วยสายน้ำ
http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2016/04/M3-Activity.pdf
ดาราศาสตร์กับสถาปัตยกรรม
ม. 4
บันจีจัมป์
http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2016/04/M4-Activity.pdf
กังหันลมผลิตไฟฟ้า
ม. 5
ถุงประคบร้อน
http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2016/04/M5-Activity.pdf
สเลอปี้
ม. 6
สัญญาณกันขโมย
http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2016/04/M6-Activity.pdf
ชาร์จแบตเตอรีด้วยพลังงานสะอาด
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ร่างเพื่อการนำเสนอใการประชุมสัมมนาบุคลากรที่โรงแรมอารายาน่ารีสอร์ท ปากช่อง 11-13 มีนาคม 2559
1.การยกระดับคุณภาพผู้เรียน
ยุทธศาสตร์
: ยกระดับคุณภาพผู้เรียน
เป้าประสงค์
1.
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานคุณภาพระดับโรงเรียน ระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด
1.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินมากกว่าร้อยละ 97
2.
ผลการวัดผลคุณภาพการศึกษาระดับชาติสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับจังหวัด
ระดับภาคและระดับประเทศ
3.
ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีมากขึ้นไปทุกมาตรฐาน
กลยุทธ์ที่
1 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
จุดเน้น
1.1 จัดการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษาฯและบูรณาการ สาระการเรียนรู้อื่น
ๆ
แนวปฏิบัติ
1. จัดหน่วยการเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรแกนกลาง
2.
จัดให้มีการประเมินผู้เรียนก่อนสอน
เพื่อคัดกรองนักเรียน
3.
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควบคู่กับการเน้นสาระทางวิชาการตามเนื้อหาและส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
4.
จัดให้มีการวัดประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อปรับปรุงพัฒนานักเรียน ปรับปรุงวิธีการ จัดการเรียนการสอน
5.
จัดให้มีการวัดประเมินผลหลังสอนเพื่อซ่อมเสริม และ แก้ปัญหา นำข้อค้นพบมาปรับปรุงวิธีการสอน
6.
ปรับเวลาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระหลักให้เหมาะสมกับเนื้อหาและความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน
จุดเน้น
1.2 นิเทศ ติดตาม
ให้ข้อเสนอแนะการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง
แนวปฏิบัติ
1. ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ และ
บันทึกหลังการสอน เพื่อให้ข้อเสนอแนะ
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระหลักโดยเน้นทักษะทางวิชาการเป็นหลัก
3. นิเทศภายในด้วยวิธีคัดสรรที่มีประสิทธิภาพ
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ใช้หลักกัลยาณมิตร ไม่เน้นการจับผิดแต่เน้นส่งเสริมปรับปรุงและพัฒนา
4. คัดเลือกสื่อการเรียนการสอน หนังสือ แบบเรียน
แบบฝึกหัด ที่นำมาใช้ในโรงเรียนโดยเน้นยึดหลักสูตร
และการมีส่วนร่วมของครู
5.
รับฟังแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนจากบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
6. จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดทำแบบฝึก
แบบทดสอบเสริม
7.
ส่งเสริมขวัญกำลังใจให้ครูที่ปฏิบัติงานหน้าที่สอนที่ทุ่มเทอยู่กับนักเรียน
8.พัฒนาครูผู้นิเทศเน้นหัวหน้ากลุ่มสาระและรองหัวหน้ากลุ่มสาระ
ให้สามารถนิเทศงานวิชาการในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเน้น
1.3 ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง องค์กรต่างๆ
มีส่วนร่วม และรับผิดชอบ ในการพัฒนานักเรียนด้านการเรียนรู้
แนวปฏิบัติ
1. จัดให้มีโครงการเยี่ยมบ้านร้อยเปอร์เซ็นต์
2. จัดกิจกรรมสายสัมพันธ์ศิษย์ลูก
3. การจัดกิจกรรมค่ายพุทธธรรม
4. จัดระบบสารสนเทศดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
เน้นสารสนเทศครอบคลุมพฤติกรรมนักเรียนทุกด้านทั้งด้านการเรียนการสอน
ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล ด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม
5.จัดทำโปรแกรมการพัฒนารายบุคคลเพื่อดูพัฒนาการทุกด้านอย่างต่อเนื่องโดยครูประจำชั้นเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานข้อมูลเชื่อมโยงกับผู้ปกครองโดยตรง
กลยุทธ์ที่
2 การสอนซ่อมเสริม
จุดเน้น 2.1
พัฒนาระบบสารสนเทศการคัดกรองและการสอนซ่อมเสริมนักเรียน
แนวปฏิบัติ
1. จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับต่างๆ
ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
2. ประเมินยุทธศาสตร์/แผนงาน/โครงการที่ปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อการซ่อมเสริมพัฒนาศักยภาพนักเรียน
4.จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศ
สมุดบันทึกการสอนซ่อมเสริม
จุดเน้น 2.2
ซ่อมเสริมนักเรียนจำแนกตามกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ
แนวปฏิบัติ
1.จัดให้มีโครงการการซ่อมเสริมนักเรียน
โดยอาจจัดในชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม ( สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมงสำหรับนักเรียนทั่วไป
และอย่างต่ำ 10 ชั่วโมงสำหรับนักเรียนโครงการพิเศษ )
2.จัดชั่วโมงซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนบกพร่องทางด้านการเรียน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยในแต่ละระดับ
แยกออกจากนักเรียนทั่วไป
3.จัดให้ครูดำเนินการสอนพิเศษนักเรียนในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนครอบคลุมการบริการนักเรียนทุกคน/ทุกสัปดาห์
4.จัดให้มีผู้รับผิดชอบนิเทศติดตาม
ตรวจสอบการดำเนินการในการจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมทุกมิติและรวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 3
ส่งเสริมการวัดผลประเมินผลทางการเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
แนวปฏิบัติ
1.จัดให้มีการวัดประเมินผลการเรียนของนักเรียนก่อน ระหว่าง
และ หลังการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ข้อสอบ
แบบสังเกต การสัมภาษณ์ ผลงานเชิงประจักษ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
2. พัฒนาคลังข้อสอบเพื่อการวัดผลประเมินในรายวิชาต่าง
ๆ
ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ครูและนักเรียนที่เรียนรายวิชาต่างๆ
ได้นำไปใช้อย่างต่อเนื่อง
3.ให้ผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบ
ดำเนินการติดตาม นิเทศ
ให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างจริงจังสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
4.จัดทำระบบสารสนเทศการวัดประเมินผลการเรียนการสอนและนำมาใช้เป็นข้อมูลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
2.การยกระดับการจัดการด้วยระบบคุณภาพ
ยุทธศาสตร์: การพัฒนาระบบจัดการด้วยระบบคุณภาพ
เป้าประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
ตัวชี้วัด
1.องค์กรทุกองค์กรในโรงเรียนมีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
2.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจต่อระบบงานและบริการของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง
ๆ ในโรงเรียนมากกว่าร้อยละ 80
กลยุทธ์
1 ส่งเสริมการจัดระบบคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
แนวปฏิบัติ
1. สร้างภาวะผู้นำ (Leadership) ขององค์กรย่อยต่าง ๆ
อย่างเป็นระบบพร้อมกำหนดภาระงานอย่างชัดเจน
2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ (Information and Analysis) ขององค์ต่าง ๆ
ในโรงเรียนให้เอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน
3. ดำเนินการวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์(Strategic
Quality Planning) ของโรงเรียนจากองค์กรย่อยหลอมรวมเป็นองค์กรใหญ่
4. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource
Development and Management) ของทุกกลุ่มองค์กรในโรงเรียน
5. การจัดกระบวนการคุณภาพ
(Management of Process Quality) ขององค์กรต่าง ๆ ในโรงเรียนทุกองค์กร
6. ติดตามและประเมินผลคุณภาพผลการดำเนินงาน(Quality
and Operation Results) ขององค์กรทุกองค์กรในโรงเรียน
3.หลักการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
ยุทธศาสตร์ : ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
เป้าประสงค์
1.เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระหลักให้มีคุณลักษณะความเป็นเลิศทางวิชาการ
2.เพื่อพัฒนานักเรียนกลุ่มความสามารถพิเศษให้มีความสามารถทางวิชาการสามารถแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติได้
ตัวชี้วัด
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักทุกกลุ่มต้องมีผลงานทางวิชาการของครูหรือนักเรียนส่งเข้าประกวดแข่งขันและได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติทุกปีการศึกษา
หรือ
2.นักเรียนประสบความสำเร็จในการสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำหรือคุณภาพเทียบเท่าได้อย่างร้อยละ
50 ของนักเรียนโครงการพิเศษกลุ่มเป้าหมาย(เน้นคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ทุน ก.พ. ทุนมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
ทุนพระราชทาน
ทุนบริษัทหรือหน่วยงานชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ )
กลยุทธ์ 1.
พัฒนาทักษะการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มสาระหลัก
แนวปฏิบัติ
1.จัดตั้งชุมนุมและกำหนดให้ครูทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบ
จำนวนสมาชิก รายชื่อสมาชิก
แผนการดำเนินการชุมนุมในการฝึกปฏิบัติกิจกรรมและทักษะการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
2.จัดให้ผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบติดตาม นิเทศ
และให้การสนับสนุนการดำเนินการ
3.จัดทำระบบสารสนเทศการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยฝ่ายวิชาการ
4.จัดทำ/จัดหาแบบฝึกหัด/สื่อนวัตกรรม ICT มาใช้ในการฝึกปฏิบัติกิจกรรมและ
และทักษะการเรียนรู้ การแสวงหาคำตอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
5.จัดทำ/จัดหาแบบทดสอบที่ใกล้เคียงกับแบบทดสอบของสำนักทดสอบและจัดสอบให้แก่นักเรียนทุกช่วงชั้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
6.จัดกิจกรรมค่ายวิชาการเชิงระบบในรูปแบบที่หลากหลาย
เป็นกิจกรรมค่ายที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ชัดเจน
7.การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานทางวิชาการเพิ่มขึ้นเน้นผู้สอนที่มีทักษะทางวิชาการโดยตรง
8.พัฒนาห้องเรียนรวมกลางสำหรับใช้งานทุกกลุ่มสาระสามารถรองรับนักเรียนได้
200 คน (4ห้องเรียน) และพัฒนาห้องเรียนรวมของกลุ่มสาระหลักสามารถรองรับนักเรียนได้
110 คน(2ห้องเรียน)
9.คัดเลือกครูแกนนำด้านวิชาการทุกกลุ่มสาระมาส่งเสริมพัฒนาและรับผิดชอบการพัฒนานักเรียนกลุ่มพิเศษ
กลยุทธ์
2. ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศตามความถนัดและ
กลุ่มสนใจ
แนวปฏิบัติ
1.จัดโครงการ/กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินการให้นักเรียนมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ
ตามความถนัด ความสนใจ
2.จัดกิจกรรมประกวดแข่งขันทักษะวิชาการในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
3.จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนและการเรียนการสอนเสริมของนักเรียนโครงการพิเศษอย่างเข้มข้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะทางวิชาการขั้นสูงตามหลักสูตรหรือสูงกว่าหลักสูตรให้นักเรียนสามารถแข่งขันทางวิชาการได้ในระดับชาติและนานาชาติ
4.พัฒนาครูแกนนำด้านทักษะวิชาการเฉพาะสาขาในกลุ่มสาระหลักโดยส่งเสริมการอบรมพัฒนาและรับผิดชอบพัฒนานักเรียนความสามารถพิเศษอย่างต่อเนื่อง
5.พัฒนาโครงงานนักเรียนกลุ่มความสามารถพิเศษเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ
4.การจัดการความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
ยุทธศาสตร์: การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เป้าประสงค์
1.เพื่อรวบรวม จัดระบบ
เผยแพร่และจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนของครู
2.เพื่อรวบรวม จัดระบบ
เผยแพร่และจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้ด้านการเรียนรู้ของนักเรียน
ตัวชี้วัด
กลยุทธ์ที่
1 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge
Sharing, KS)ระหว่างนักเรียน
1.จัดกิจกรรมพี่สอนน้องในรายวิชาที่เหมาะสมหรือกิจกรรมที่เหมาะสม
2.จัดกิจกรรมแสดงผลงานทางวิชาการของนักเรียนในระดับต่าง
ๆ
3. จัดทำฐานข้อมูลดิจิตัลเพื่อเผยแพร่ข้อมูลหรือผลการเรียนรู้ทางวิชาการของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเป็นฐานองค์ความรู้สำหรับรุ่นน้อง
4.จัดประกวดแข่งขันผลงานทางวิชาการของนักเรียนในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
5.ทำสารสนเทศฐานข้อมูลนักเรียนที่มีความสามารถทางวิชาการทุกรุ่น
พร้อมผลงานวิชาการของแต่ละคนเผยแพร่ให้รุ่นน้องได้ศึกษา
กลยุทธ์ที่
2 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing, KS)ของครู
1.จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.จัดรวบรวมผลงานทางวิชาการของครูเพื่อจัดแสดงให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.จัดทำฐานข้อมูลดิจิตัลเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการของครู
4.ส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการของครู
5.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับชาติและนานาชาติ
6.ส่งเสริมให้ครูและองค์กรต่าง ๆ ในโรงเรียนนำกิจกรรมจัดการความรู้มาใช้ในโรงเรียน
ซึ่งมีเครื่องมือที่สำคัญคือ
6.1
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : Cop)
6.2
การศึกษาดูงาน (Study tour)
6.3
การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
6.4
การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
6.5
เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
6.6
การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
6.7 เวทีเสวนา
หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
6.8
เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
6.9
การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action
Learning)
6.10
มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
6.11 การสอนงาน
(Coaching)
6.12
การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
6.13 ฟอรัม ถาม
– ตอบ (Forum)
6.14
บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
6.15
เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
5.การเสริมสร้างภาวะผู้นำและชุมชนแห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์: การสร้างผู้นำและชุมชนแห่งการเรียนรู้
เป้าประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน
2.เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบไร้พรมแดน
3.เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักเรียน
ตัวชี้วัด
1.นักเรียนมากกว่านร้อยละ 95
มีคุณลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
2.นักเรียนมากกว่านร้อยละ 95 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านภาวะผู้นำและด้านประชาธิปไตยตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
แนวปฏิบัติ
1.จัดให้นักเรียนใช้ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอย่างถูกวิธี
2.จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยการจัดหาหนังสือ/สื่อ
ICT/แหล่งการเรียนรู้ที่นักเรียนสนใจในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอย่างต่อเนื่อง
3.จัดให้ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคนเน้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักและมีการรายงานผลทุกสัปดาห์/เดือน
กลยุทธ์ที่ 2
ส่งเสริมการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
แนวปฏิบัติ
1.พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในให้มีมาตรฐานทั้งสถานที่
สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ เทียบเคียงมาตรฐานสากล
2.จัดกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับแหล่งเรียนรู้อื่น
ๆ นอกสถานศึกษา
3.พัฒนาระบบฐานข้อมูลแหล่งความรู้เพื่อบริการนักเรียนอย่างเพียงพอและทั่วถึง
กลยุทธ์ที่
3 การเสริมสร้างภาวะผู้นำ
แนวปฏิบัติ
1.จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
2.จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานแบบกระบวนการกลุ่มทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3.ส่งเสริมกิจกรรมผู้นำระดับชั้นเรียน
6.การยกระดับภาวะผู้นำของครู
ยุทธศาสตร์:การพัฒนาผู้นำของครู
เป้าประสงค์
เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครู
ตัวชี้วัด
1.ครูร้อยละ100
ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์สมรรถนะวิชาชีพ
2.ครูร้อยละ
98 ผ่านการพัฒนายกระดับมาตรฐานวิชาชีพตามเงื่อนไขการพัฒนาตนเองที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
กลยุทธ์ 1 ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีการ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
มีการศึกษาค้นคว้า และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
แนวปฏิบัติ
1.ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำผลการประเมินนักเรียนมาพัฒนางาน
2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
3.จัดประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจ
เนื้อหาสาระการเรียนรู้ตามระดับช่วงชั้น เทคนิคการจัดการเรียนการสอน
การใช้สื่อ/เทคโนโลยีในการสอน
การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงที่ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
มีการใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าแสวงหาและการพัฒนาตนเอง
4.ส่งเสริมการจัดทำ ID plan เพื่อประเมินสมรรถนะครูรายบุคคล
5.ส่งเสริมการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของครู (SAR)
กลยุทธ์ 2 ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู
และบุคลากรทางการศึกษา
แนวปฏิบัติ
1. ส่งเสริมการปฏิบัติตนตาม มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
1. ส่งเสริมการปฏิบัติตนตาม มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
2. ส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ
3. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อัตรากำลังคนในองค์กรอย่างมีระบบ
4. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรในระดับเขตพื้นที่
ระดับประเทศและ
นานาชาติ
5. เสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
6.ปฏิรูปวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรเน้นการทำงานเชิงระบบมากขึ้น
7.เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์:พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
เป้าประสงค์
เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทหรือธรรมชาติของวิชาหรือสาระการเรียนตามหลักสูตร
ตัวชี้วัด
1.ครูและนักเรียนสามารถใช้สื่ออีเลคโทรนิคส์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนทุกรายวิชา
2.พื้นที่บริการไวไฟในโรงเรียนครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ
100 และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์เทียบเท่ามาตรฐานทั่วไป
กลยุทธ์ที่
1 การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในการเรียนการสอน
แนวปฏิบัติ
1.การพัฒนาห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูม
2.การพัฒนาระบบไวไฟเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนให้ครอบคลุมพื้นที่โรงเรียน
3.การพัฒนาสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนในวิชาหลักให้ครบถ้วนสมบูรณ์
4. การส่งเสริมการใช้โปรแกรม Google Apps ในการจัดการกระบวนการเรียนรู้
5. การพัฒนาห้องสมุดอีเลคโทรนิคส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)