ปฏิทินการปฏิบัติงานฝ่ายวางแผนฯ

ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
-ขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลตลอดปี 2556-57
-รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2556 (มีนาคม 2557)
-รายงานประจำปีฉบับเผยแพร่ (มี.ค.-พ.ค. 2557)

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการนี้เกิดจากความต้องการให้นักเรียนแสดงออกทางความคิดเกี่วกับการอนุรกษ์สิ่งแวดล้อมและนำเสนอรูปแบบความคิดเป็นคลิปวีดีโอเพื่อเผยให้ให้สังคมได้รับรู้แนวคิดของนักเรียนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเรื่องต่าง ๆ  เน้นแนวคิดที่เสรี เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการจัดประชุมสัมมนาขับเคลื่อนแผนพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ปีการศึกษา 2557



โครงการจัดประชุมสัมมนาขับเคลื่อนแผนพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ปีการศึกษา 2557
1.      หลักการและเหตุผล


การวางแผนเป็นเรื่องของการกำหนดความต้องการ วิธีการดำเนินการและคาดหมายผลการดำเนินการในอนาคต โดยใช้หลักวิชาการ เหตุผล มีข้อมูลตัวเลขประกอบ มีการเสนอปัญหาเพื่อขจัดอุปสรรคที่จะมาถึงเป้าหมายข้างหน้า ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ว่าจะทำอะไร ที่ไหนเมื่อใด กับใครทำอย่างไรและทำเพื่ออะไรได้อย่างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและได้ผล ซึ่ง Koontz และ O’Donnell (1968 : 136) กล่าวไว้ว่า ถ้าหากปราศจากการวางแผนแล้ว การตัดสินใจและการกระทำมักจะเป็นไปตามยถากรรมจึงเห็นว่าการวางแผนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนแผนที่เดินทางหรือพิมพ์เขียว(Blueprints) ในการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งการวางแผนจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในการบริหารงานซึ่ง Johnson, Kast และ Rosenzweig (1967 : 25-26) เคยกล่าวไว้ว่าการวางแผนเปรียบเสมือนยานพาหนะที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ     หากปราศจากการวางแผนระบบก็ไม่สามารถเปลี่ยนและปรับตัวให้เข้ากับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปได้การวางแผนจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการบริหารงานอย่างยิ่ง เพราะการวางแผนจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการได้ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2547 : 228)
  โดยสรุปการวางแผนถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งของการบริหารที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพถือได้ว่าเป็นงานตั้งแต่เริ่มแรกและเป็นงานต่อเนื่องโดยตลอดในกระบวนการบริหารและการจัดการของหน่วยงาน หรือของระบบการบริหารองค์การทั้งระบบ การวางแผนนั้น   มิได้จบลงที่ได้ตัวแผน แต่เป็นที่ครอบคลุมทั้งการจัดทำแผน (Planning) การนำแผนออกปฏิบัติหรือบริหารแผน(Implementation)และการประเมินผล (Evaluation) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงผลสัมฤทธิ์ผลของแผนหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงาน และจัดทำแผนใหม่ในโอกาสต่อไป (อุทัย บุญประเสริฐ. 2532 : 24)
ในสภาพปัจจุบันโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีสถานะในฐานะผู้นำในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในภูมิภาคของประเทศไทย และในอนาคตโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เน้นการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพของประชาคมอาเซียน มีกรอบภารกิจที่สำคัญ 3 ประการคือ
ประการที่หนึ่งการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพเทียบเท่าหรือเป็นผู้นำทางด้านการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของประเทศ เน้นความสอดคล้องกับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาชาติเป็นสำคัญ
ประการที่สองการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยเน้นนำระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพตามกรอบการพัฒนาคุณภาพองค์กรของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติภายใต้ระบบการพัฒนา TQA
ประการที่สามการพัฒนาสถานศึกษาให้สอดรับกับนโยบายการจัดการศึกษาและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้านต่าง ๆ  เช่นนโยบายการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาเยาวชน นโยบายต่อต้านสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมาเยาวชนต่าง ๆ เป็นต้น
ภารกิจที่สำคัญเหล่านี้จำเป็นที่โรงเรียนจะต้องมีการจัดประชุมสัมมนาบุคลากรแกนนำภายในโรงเรียนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เหมาะสม และสร้างความเข้าใจอันดีของบุคลากรภายในโรงเรียน กลุ่มแผนงานและงบประมาณจึงเห็นสมควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาบุคลากรแกนนำเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.      เพื่อประชุมสัมมนาจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนปีงบประมาณ 2557
2.      เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์แผนปฏิบัติการโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนปีงบประมาณ 2557 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
3.      เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติโดยระบบ TQA
เป้าหมายของโครงการ
1.      บุคลากรครูแกนนำและฝ่ายบริหารโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จำนวน 55 คน
2.      จัดการประชุมสัมมนาจำนวน 2 วันทำการ
วิธีดำเนินการ
1.      เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
2.      จัดทำแผนกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ
3.      แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
4.      ดำเนินงานตามแผนงาน
5.      ประเมินผลการดำเนินงาน



แผนกิจกรรม

วันเวลา
กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ
31สิงหาคม 2556



04.30 น.
ออกเดินทางจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
คณะกรรมการดำเนินงาน
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเหมาะสม
09.30น.
เขาค้อรีสอร์ท  อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

09.30 -12.00 น.
กิจกรรมการอบรมเรื่องแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนตามระบบ TQA
ฝ่ายวางแผนฯและฝ่ายวิชาการ
12.00 -13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 -17.00 น.
ประชุมวิเคราะห์สังเคราะห์แผนพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ฝ่ายวางแผนฯ
17.00 – 18.30 น.
พักผ่อนตามอัธยาศัย

18.30 – 22.00 น.
รับประทานอาหารเย็นและกิจกรรมสานสัมพันธ์
คณะกรรมการดำเนินงาน
22.00 น.
พักผ่อนตามอัธยาศัย

1 กันยายน 2556



08.00 – 10.00 น.
ประชุมวิเคราะห์สังเคราะห์แผนพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน(ต่อ)
ฝ่ายวางแผนฯ
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเหมาะสม
10.00 -11.30 น.
สรุปผลการประชุมวิเคราะห์สังเคราะห์แผนพัฒนาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
คณะทำงานกลุ่มต่าง ๆ
11.30 -13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

13.00 น.
เดินทางกลับและทัศนศึกษาสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมของชุมชนพื้นถิ่นเขาค้อ
คณะกรรมการดำเนินงาน
19.00 น.
ถึงโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  จังหวัดขอนแก่น โดยสวัสดิภาพ


งบประมาณดำเนินการ
1.      งบรายรับ จากกลุ่มแผนงานและงบประมาณ จำนวน   84,7000  บาท
2.      งบประมาณรายจ่าย
จ่ายค่าดำเนินการจัดอบรมสัมมนา  จำนวน 84,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
            31 สิงหาคม  2556 ถึง 1 กันยายน  2556

สถานที่ดำเนินงาน
เขาค้อรีสอร์ท  อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.      กลุ่มแผนงานและงบประมาณ
2.      กลุ่มวิชาการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.      บุคลากรแกนนำมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามระบบ TQA และวางเป้าหมายการดำเนินงานระบบ  TQAในโรงเรียนเป็นแนวทางเบื้องต้น
2.      มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2557 ได้เสร็จสิ้นทุกฝ่าย ทุกกลุ่มงาน
3.      มีการวิเคราะห์สังเคราะห์งานนโยบายที่สำคัญไปสู่การปฏิบัติในแผนปฏิบัติการอย่างเป็นระบบชัดเจน